Home







กูกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้เป็นโอรสของพระปิยะมหาราช ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า แผ่นดินสยามนี้ บรรพบุรุษได้เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิตเข้าแลกไว้ ไอ้อีมันผู้ใด คิดบังอาจทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ฤๅ กระทำการทุจริตก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม จงหยุดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว ก่อนที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโครต ให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยามอันเป็นที่รักของกู ตราบใดที่คำว่า "อาภากร" ยังยืนหยัดอยู่ในโลก กูจะรักษาผืนแผ่นดินสยามของกู ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา แผ่นดินใดให้ที่ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็นเป็นสุข มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น.
พระคาถา

จริงๆแล้วเรื่องของคาถามีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลเสียอีก ไม่ว่าทั้งมนต์ดํา หรือมนต์ขาว แม้แต่ในสมัยพระพุทธองค์ทรงมีชีวิต ก็ทรงใช้คาถา ตลอดจนพระอสิติมหาสาวกก็ยังใช้คาถาอีกด้วยยกตัวอย่างเช่นพระองคุลิมาล ในสมัยพุทธกาล  ก็ใช้พระคาถาเพื่อช่วยสตรีที่กําลังคลอดบุตรให้ทําการคลอดบุตรง่ายและปลอดภัยทั้งแม่ลูก นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของคาถา คาถาคือถ้อยคําที่เปล่งออกมา เพื่อแสดงความสัจจริง ศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ก็อยู่ที่ผู้กล่าวเช่นบทคาถาของพระองคุลิมาลมีใจความว่า

ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ

ซึ่งก็มีเนื้อความประมาณว่า ดูกร น้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาโดยชาติอาริยะ มิเคยที่จะพรากชีวิตสัตว์ใด ด้วยความจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่นาง และครรภ์ของนาง

ก็พอจะเห็นได้ว่าการกล่าวคําสัจจริงล้วนแต่สร้างความสัตย์สิทธิ์ในตัวเองทั้งสิ้น

หรือจะยกตัวอย่างบทสวดมนต์ พาหุงมหากาฯ ที่พวกเราๆได้ยินกันบ่อย ก็ล้วนแต่ไม่ได้มีบทไหนที่แสดงถึงความเข้มขลังของบทสวดเลย ก็จะเป็นการกล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าตั้งแต่วันที่ผจญหมู่มารในวันที่ตรัสรู้ และมาสรุปเป็นใจความสั้นๆตั้งแต่ เริ่มสวด

มกากรุณิโกนาโถ หิตายะฯ

พอะจับได้ใจความว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมห ากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

และท้ายที่สุดคือ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

นี่หละพระคาถาก็ลองอ่านคําแปลดูว่าตั้งแต่เริ่มสวดเนี้ยะเป็นความจริงทั้งนั้น พอพูดความจริง ก็ไม่มีช่องให้มารโต้แย้งเมื่อมารฟังแล้วว่าไม่มีข้อโต้แย้งก็ถอยหลบ แค่นั้นเอง

ทีนี้มาว่ากันต่อถึงคาถาที่ควรจะหมั่นภาวนากันบ่อยๆ ก็คงไม่มีสายดําเข้ามาเจือปน เรียกว่าพุทธมนต์บริสุทธิ์

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา)
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ 

 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

พระคาถาชินบัญชร

ชะยาสะนากะตา พุทธา       เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา.


ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเกเต มุนิสสะรา.


สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.


หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก.


ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.


เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว

 

กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง       ปะติฏฐาสิคุณากะโร.


ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ          อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา        นะลาเต ติละกา มะมะ.


เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา            ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ           อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.


ระตะนัง ปุระโต อาสิ            ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ         วาเม อังคุลิมาละกัง


ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ           เสสา ปาการะสัณฐิตา


ชินา นานาวะระสังยุตตา         สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา          พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.


อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.


ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ        เต มะหาปุริสาสะภา.


อิจเจวะมันโต            สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ           ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ          ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ          ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต   จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า

อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ

Free Web Hosting